Saturday, 9 January 2010

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย




สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชินีอังกฤษในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน ค.ศ.1837 - 22 มกราคม 1901 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ และมีพระญาติเป็นเชื้อพระวงศ์ทั่วยุโรป เช่น สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี เป็นต้น จนได้รับพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จย่าแห่งยุโรป" (Grandmother of Europe)



สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
พระนามของเจ้าหญิง ซึ่งแม้ว่าลงเอยในตอนท้ายเป็น อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย ได้เป็นที่ถกเถียงกันระหว่างพระชนนีและบรรดาพระปิตุลา สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 เสนอพระนามว่า เอลิซาเบธ ในขณะที่ทรงคัดค้านการขนานพระนามเจ้าหญิงตามพระชนนี โดยตรัสว่า วิกตอเรีย "ไม่เคยเป็นชื่อทางศาสนาคริสต์ที่รู้จักมาก่อนในประเทศนี้" แต่ดัชเชสแห่งเคนต์ทรงปฏิเสธ แม้พระนามชาร์ล็อตก็ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติแก่เจ้าหญิงชาร์ล็อต ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติกาลก่อนหน้านี้
พระชนกของเจ้าหญิงวิกตอเรียสิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง หลังจากการประสูติได้เพียงแปดเดือน และสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระอัยกาได้เสด็จสวรรคตในอีกหกวันต่อมา เจ้าชายผู้สำเร็จราชการ จึงเสวยราชสมบัติสืบต่อมาเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แต่พระองค์เสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทเมื่อเจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุ 11 พรรษา ตอนนี้ราชบัลลังก์จึงตกเป็นของดยุคแห่งคลาเรนซ์และเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งเถลิงพระปรมาภิไธยเป็น สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4

 


 ต้นรัชกาล

ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงมีพระชนมายุ 18 พรรษา ซึ่งหมายความว่าจะไม่จำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการอีกแล้ว รุ่งเช้าวันหนึ่งในอีกสี่สัปดาห์ต่อมาพระชนนีของเจ้าหญิงได้ทรงปลุกให้ตื่น จากบรรทมเพื่อรับทราบว่าเมื่อตอน 2 นาฬืกา 12 นาทีของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2380 สมเด็จพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 4 เสด็จสวรรคตด้วยอาการพระหทัยล้มเหลวขณะทรงมีพระชนมพรรษา 71 พรรษา จึงทำให้เจ้าหญิงทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ อย่างไรก็ดี พระองค์ไม่ได้ทรงเสวยราชสมบัติของฮาโนเวอร์ ซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีพระประมุของค์เดียวกันกับประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ พ.ศ. 2257 แล้ว

รัฐฮาโนเวอร์ได้มีรัฐธรรมนูญของตนในปี พ.ศ. 2376 ซึ่งกล่าวถึงกฎหมายมรดกของตระกูลเวลฟ์ไว้ว่าถ้าไม่มีรัชทายาทในพระมหา กษัตริย์ที่เป็นชาย สายเวลฟ์ของนครบรันสวิค-วอลเฟ็นบึตเติลจะได้สืบราชสมบัติอาณาจักรแห่งฮาโน เวอร์ (ซึ่งเป็นราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2349) ยกเว้นว่าสายนั้นไม่มีทายาทอีกต่อไป ผู้หญิงจึงสามารถสืบราชบัลลังก์ได้ สมเด็จพระราชาธิบดีโอโพลด์ที่ 1 ในอนาคตทรงเป็นที่ปรึกษาหลักแก่พระราชนัดดาของพระองค์ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระธิดาในเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ พระเชษฐภคินี พระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระราชินีในสายของกษัตริย์เลโอโพลด์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโพลด์ที่ 2 และ สมเด็จพระจักรพรรดินีคาร์โลตาแห่งเม็กซิโก

สมเด็จพระราชินีก็ยังทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งฮาโนเวอร์และดัชเชสแห่งบรันสวิ คและลืนบูร์กตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ แต่ราชบัลลังก์ของฮาโนเวอร์ได้ตกไปเป็นของดยุคแห่งคัมเบอร์แลนด์และเทวิอ็อตเดล พระปิตุลาซึ่งทรงกลายเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีเออร์เนส ออกัสตัสที่ 1 แห่งฮาโนเวอร์ เนื่องมาจากว่าสมเด็จพระราชินีวัยดรุณียังมิได้ทรงอภิเษกสมรสและยังมิทรงมี พระราชโอรสและธิดา กษัตริย์เออร์เนส ออกัสตัสจึงยังทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์อังกฤษจนกระทั่งพระราชธิดา พระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีประสูติในปี พ.ศ. 2383

ในช่วงที่เจ้าหญิงวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ รัฐบาลส่วนมากจะมาพรรควิก ที่อยู่ในอำนาจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2373 ยกเว้นการเว้นช่วงสั้นไปหลายครั้ง ลอร์ดเมลเบิร์น ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีสังกัดพรรควิกครั้งหนึ่งเคยมีอิทธิพลอันแรงกล้าต่อ ชีวิตอันอ่อนประสบการณ์ทางการเมืองของสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งต้องทรงพึ่งพาคำแนะนำในเรื่องต่างๆ ของเขา (บางคนก็ถึงกับกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็น "นางเมลเบิร์น") คณะรัฐมนตรีของเมลเบิร์นไม่ได้อยู่ในอำนาจเป็นเวลานานนัก เนื่องจากเริ่มไม่เป็นที่ชื่นชอบมากขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นยังต้องเผชิญกับ ความยากลำบากอย่างมากในการปกครองอาณานิคมต่างๆ ของอังกฤษ ในประเทศแคนาดา อังกฤษต้องเผชิญกับการปฏิวัติ (ดูเรื่อง การจลาจลในปี พ.ศ. 2380 ที่มีการก่อการกบฏหลายครั้งกินเวลาถึงปี พ.ศ. 2382) และในประเทศจาเมกา สภานิติบัญญัติแห่งอาณานิคมได้ต่อต้านนโยบายของอังกฤษโดยการปฏิเสธการผ่านกฎหมายใดๆ ออกมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2382 รัฐบาลของเมลเบิร์นได้ลาออกไปเนื่องจากว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในดินแดนโพ้นทะเลได้

สมเด็จพระราชินีนาถทรงมอบหมายให้เซอร์ โรเบิร์ต พีล ซึ่งเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคทอรี่ตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา แต่ว่าต้องเผชิญกับความล้มเหลวซึ่งรู้กันในเรื่องของกรณีห้องพระบรรทม ในเวลานั้นถือเป็นธรรมเนียมสำหรับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนัก พระราชวังต้องอยู่บนพื้นฐานของระบบอุปถัมภ์ (ซึ่งก็คือ นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งสมาชิกของสำนักพระราชวังบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ ภายในพรรคตนเอง) นางกำนัลประจำห้องพระบรรทมของพระราชินีจำนวนมากเป็นภรรยาของนักการเมืองพรรค วิก แต่เซอร์ โรเบิร์ต พีลกลับต้องการให้จะเปลี่ยนเป็นเหล่าภรรยาของนักการเมืองพรรคทอรี่แทน

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงคัดค้านอย่างมากกับการปลดนางกำนัลเหล่านี้ ซึ่งทรงเห็นเป็นเหมือนพระสหายสนิทมากกว่าเป็นเหล่าข้าราชบริพารที่ทำตาม ระเบียบพิธีการ เซอร์ โรเบิร์ต พีล รู้สึกว่าเขาไม่สามารถจะบริหารงานใต้ข้อจำกัดจากสมเด็จพระราชินีได้ ดังนั้นจึงได้ถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง ทำให้เมลเบิร์นกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง



อภิเษกสมรส


 

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383 ณ โบสถ์หลวง พระราชวังเซนต์เจมส์ เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะ เจ้าชายพระราชสวามี (Prince Consort) แม้ว่าจะไม่ได้ทรงรับการสถาปนาเป็นทางการจนกระทั่งปี พ.ศ. 2400 เจ้าชายมิเคยทรงได้รับบรรดาศักดิขุนนางเลย พระองค์มิทรงเป็นเพียงแค่ผู้ดูแลสมเด็จพระราชินีอย่างใกล้ชิด แต่ยังเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเมืองคนสำคัญแทนลอร์ดเมลเบิร์นในฐานะบุคคล สำคัญที่เป็นผู้นำในชีวิตของพระองค์อีกด้วย
ในการทรงพระครรภ์แรกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เอ็ดเวิร์ด อ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งมีอายุ 18 ปีได้พยายามลอบปลงพระชนม์พระราชินีขณะทรงประทับรถม้าพระที่นั่งกับเจ้าชาย อัลเบิร์ตในกรุงลอนดอน อ็อกซ์ฟอร์ดได้ยิงปืนออกไปสองครั้ง แต่กระสุนพลาดเป้าไปทั้งสองนัด เขาถูกพิจารณาว่าเป็นกบฎต่อชาติ แต่เขาได้รับการตัดสินให้พ้นความผิดเนื่องจากความวิกลจริต คำแก้ต่างของเขาเป็นที่สงสัยต่อหลายคน กล่าวคือ เขาอาจพยายามเรียกร้องความสนใจ แต่มีหลายคนกล่าวว่าการวางแผนประทุษร้ายจากพวกปฏิรูปการเมืองอยู่เบื้องหลัง การลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้ บางกลุ่มให้ข้อมูลว่าเป็นแผนการของกลุ่มสนับสนุนของกษัตริย์ เออร์เนส ออกัสตัสแห่งฮาโนเวอร์ ซึ่งทรงเป็นรัชทายาทอยู่ในขณะนั้น ทฤษฎีในการวางแผนประทุษร้ายเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสความรักชาติและความจงรัก ภักดีขึ้นภายในประเทศขึ้นมา
การลอบยิงไม่ได้มีผลกระทบต่อพระพลานามัยของสมเด็จพระราชินีหรือพระครรภ์ แม้แต่น้อย พระธิดาพระองค์แรกในเก้าพระองค์ของทั้งสองพระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า วิกตอเรีย ประสูติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2380
เมื่อพรรควิกภายใต้การนำของเมลเบิร์นแพ้การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2381 และพรรคทอรี่ภายใต้การนำของพีลได้เข้ามารับหน้าที่แทน ก็ไม่มีเหตุการณ์กรณีห้องพระบรรทมเกิดขึ้นมาอีกครั้ง สมเด็จพระราชินีนาถยังคงทรงมีพระราชหัตถเลขาโต้ตอบอย่างลับๆ กับลอร์ดเมลเบิร์น ซึ่งอิทธิพลของเขาค่อยๆ จางหายลงไปในขณะที่ของเจ้าชายอัลเบิร์ตเพิ่มมากขึ้น
ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2385 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟเป็นครั้งแรก โดยเสด็จออกจากสถานีรถไฟสโลฟ (ใกล้กับปราสาทวินด์เซอร์) ไปยังสะพานบิช็อป ที่อยู่ใกล้กับแพดดิงตัน (ในกรุงลอนดอน) ด้วยตู้ขบวนพระที่นั่งพิเศษที่จัดถวายโดยบริษัท Great Western Railway ในครั้งนี้มีผู้โดยเสด็จพร้อมกับพระองค์คือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี และ อิซามบาร์ด คิงด็อม บรูเนล วิศวกรของบริษัท
การลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียสามครั้งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2385 ในวันที่ 29 พฤษภาคม ที่พระราชอุทยานเซนต์เจมส์ จอห์น ฟรานซิส (ซึ่งมีแนวโน้มว่าต้องการเรียกร้องความสนใจมากกว่า) ได้ยิงปืนไปที่พระราชินี (ซึ่งประทับในรถม้าพระที่นั่ง) แต่ถูกรวบตัวได้ทันควันโดยนายตำรวจชั้นสูงคนหนึ่งชื่อ วิลเลี่ยม เทรานซ์ ส่วนฟรานซิสได้ถูกตัดสินมีโทษฐานเป็นกบฏต่อชาติ แต่โทษตายของเขาได้ถูกลดหย่อนเหลือแค่การเนรเทศออกนอกประเทศตลอดชีวิต เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงเห็นว่าความพยายามในการลอบปลงพระชนม์ได้รับแรงจูงใจจาก การปล่อยตัวอ็อกซ์ฟอร์ดในปี พ.ศ. 2383 ในวันที่ 3 กรกฎาคม เพียงไม่กี่วันหลังจากฟรานซิสได้รับการหย่อนโทษ ก็มีเด็กวัยรุ่นชายอีกคนหนึ่งคือ จอห์น วิลเลียม บีนได้พยายามที่จะยิงสมเด็จพระราชินีนาถ แม้ว่าที่ปืนของเขาจะบรรจุด้วยกระดาษและยาสูบ การก่ออาชญากรรมของเขาก็ทำให้มีโทษถึงแก่ชีวิตได้ เจ้าชายอัลเบิร์ตซึ่งทรงเห็นว่าการลงโทษเช่นนี้ทารุณเกินไป จึงทรงสนับสนุนให้รัฐสภาออกพระราชบัญญัติการทรยศต่อชาติปี พ.ศ. 2385 (Treason Act of 1842) ซึ่งระบุว่าการเล็งปืนพกยังพระราชินี ลอบทำร้ายพระองค์ ขวางปาสิ่งของยังพระองค์ ผลิตปืนพกหรืออาวุธอันตรายใดๆ ต่อการปรากฏพระองค์ด้วยเจตนาให้พระองค์ตกพระทัย สามารถลงโทษได้ด้วยการจำคุกเป็นเวลาเจ็ดปีและการเฆี่ยนตี ดังนั้นบีน จึงได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาสิบแปดเดือน อย่างไรก็ดี ทั้งตัวเขาและบุคคลอื่นที่ได้ละเมิดพระราชบัญญัติในอนาคตต่างก็ไม่ได้ถูก เฆี่ยนเลย

 

 เจ้าชายอัลเบิรต์พระราชสวามีสิ้นพระชนม์ด้วยโรคไทฟอยด์  เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2404 ได้สร้างความโทมนัสอย่างแสนสาหัสให้กับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียซึ่งได้ ทรงตกอยู่ในสภาพการไว้ทุกข์กึ่งถาวรและฉลองพระองค์เป็นสีดำตลอดพระชนม์ชีพ ที่เหลือ พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการปรากฏองค์ในที่สาธารณะและไม่ค่อยเสด็จเข้ากรุง ลอนดอนในอีกหลายปีต่อมา การหลบพระองค์จากสาธารณชนทำให้ทรงมีพระนามเรียกเล่นๆ ว่า "แม่หม้ายแห่งวินด์เซอร์"

 

 




                            kensington palace สถานที่ประสูติของสมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรีย



                อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรีย ด้านหน้าพระราชวังบัคกิ้งแฮม

หลายๆท่านที่เคยเรียนภาษาไทยก็คงอาจจะจำได้บ้าง มีวรรณคดีเรื่องหนึ่ง มีชื่อว่า นิราศลอนดอน ของ มรว.กระต่าย อิศรางกูล ที่ได้กล่า่วถึง 

           ในปี พ.ศ. 2398 สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร ได้ทรงแต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเชิญพระราชสาร และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชักชวนให้ประเทศไทย (กรุงสยามในสมัยนั้น) ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ซึ่งก็คือ สนธิสัญญาเบาริง

 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่สี่ ของเราในสมัยนั้นจึงได้แต่งแต่ง ราชฑูตไทยให้เดินทางมาอังกฤษ และหนึ่งในนั้นก็มีหม่อมกระต่ายร่วมมาด้วย ซึ่งในนิราศลอนดอน หม่อมกระต่ายได้มีการกล่าไว้ว่า มงกุฏของพระนางเจ้าวิคทอเรียมีการประดับด้วยเพชรที่มีขนาดใหญ่เท่าไข่นกพิราบ 

 ซึ่งในสมัยที่สมเด็จพระราชินีนาถวิคทอเรียยังทรงพระชนชีพอยู่ อังกฤษในช่วงนั้นถือว่าเป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการออกล่าอณานิคมหลายประเทศเลยทีเดียว

 


No comments:

Post a Comment